วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อวยพรปีใหม่











Greetings of the New Year. Wishing you all success in the next.













My Idol


ไฟล์:Conan doyle.jpg
อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (อังกฤษArthur Ignatius Conan Doyle) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักร และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮล์มส์"
โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อปี ค.ศ. 1881แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน
เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น
โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮล์มส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮล์มส์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮล์มส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา
เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น
โคนัน ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์
เมื่อ ปี ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา
หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน

วันรัฐธรรมนูญ


วันรัฐธรรมนูญ

 article


ความหมาย
วันรัฐธรรมนูญเป็นวันที่ระลึกคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบบประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนชาวไทย
ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วยพระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออกยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
๔. รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎรจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วครา"
สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่
การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลายใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
๑. พระมหากษัตริย์
๒. สภาผู้แทนราษฎร
๓. คณะกรรมการราษฎร
๔. ศาล
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ สถาบันที่เกิดใหม่คือสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการอาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่ง
เป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะ-รัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วยแต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้
รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้เสด็จออกประทับพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จัดเป็นที่ประชุมรัฐสภา แล้วได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพระราชทานเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ จึงได้ถือเป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติ มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม
ทุกปีสืบมางานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกันในการปกครองพระราชพิธีประจำปีนั้น ที่ท้องพระโรงหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม ตั้งพระที่นั่งพุดตาน สลักปิดทอง เชิญพระพุทธปฎิมา
ชัยวัฒน์ประจำรัชกาลที่ ๗ ขึ้นประดิษฐาน และเชิญฉบับรัฐธรรมนูญวางบนพานทองสองชั้นเข้าในมณฑลพิธีแวดล้อมด้วยต้นไม้ทอง - เงินพร้อมด้วยเครื่องนมัสการและที่ทรงกราบ
เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิตรถยนต์พระที่นั่งผ่านประตูทวยเทพสโมสร กองทหารเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเทียบรถยนต์พระที่นั่งที่บันไดท้องพระโรงหลังณ ที่นี้ประธานรัฐสภารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระ-ราชดำเนินขึ้นสู่ท้องพระโรงหลังซึ่งเป็นมณฑลพิธี ทรงจุดธูปเทียน
เครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล แล้งพระสงฆ์ ๑๕ รูป(พระสงฆ์ถือตามเกณฑ์เมื่อครั้งงานฉลองพระราชทานรัฐธรรมนูญปีแรกขณะนั้นมี ๑๒ กระทรวง การปฏิบัติพระสงฆ์จึงมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และเสนาบดี ๑๒ กระทรวงจึงเป็น ๑๕ รูป) เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์ นอกนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ประธานรัฐสภาถวานอดิเรก ถวายพระพรลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อรถยนต์พระที่นั่งผ่านประตูทวยเทพสโมสร กองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เสด็จพระราชดำเนินกลับพระราชพิธีนี้แต่งกายเครื่องแบบเต็มยศ สายสะพายช้างเผือก
อนึ่งทางรัฐสภาได้ขอพระบรมราชานุญาตหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ประดิษฐานเป็นพระบรมราชานุสรณ์ไว้ที่หน้าตึกประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ในพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระที่นั่งอนันตสมาคม จะได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพุ่มดอกไม้และทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ก่อน แล้วจึงเสด็จฯไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ รัฐบาลได้ประกาศเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์สำคัญของชาติ มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี

ลงนามถวายพระพร



ขอถวายพระพร   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระเกษมสำราญ   สุขภาพพลานามัยแข็งแร

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สร้างบล็อก

วันนี้วันที่ 22 / 11 / 2010 ได้เรียนวิธีสร้างบล็อกดดดดดดดดดดดดดดดดดด